ดีมานด์ทองคำผู้บริโภคในไทยลดลง 10% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 เมื่อเทียบเป็นรายปี
กรุงเทพฯ 3 สิงหาคม 2566 - รายงาน Gold Demand Trends ฉบับล่าสุดจากสภาทองคำโลก (World Gold Council) เผยทองคำได้รับอานิสงส์จากการซื้อของธนาคารกลางในช่วงครึ่งปีแรกและแรงหนุนจากตลาดการลงทุนที่แข็งแกร่งและความต้องการซื้อเครื่องประดับที่ฟื้นตัว
ความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ลดลง 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 921 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 แม้ว่าดีมานด์โดยรวม (รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) จะเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสะท้อนถึงตลาดทองคำที่แข็งแกร่งทั่วโลก
ในประเทศไทย ดีมานด์ทองคำของผู้บริโภคลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 7.6 ตัน จาก 8.5 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 การตกลงมานี้เป็นผลจากความต้องการเครื่องประดับที่ลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 1.7 ตัน จาก 1.9 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 และดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำโดยรวมลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 5.9 ตัน จาก 6.6 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
Mr. Shaokai Fan หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ราคาทองคำที่สูง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ผันผวนรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยเป็นเหตุที่ส่งผลให้ดีมานด์ในไตรมาสที่ 2 ลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมทั้งควมต้องการซื้อเครื่องประดับทองคำลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ตัน เนื่องจากผู้บริโภคเลือกขายคืนเครื่องประดับทองคำมากกว่าซื้อใหม่”
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทั่วโลก ความต้องการของธนาคารกลางในไตรมาศที่ 2 ลดลงมาอยู่ที่ 103 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีแรงหนุนหลักจากยอดขายสุทธิในตุรกีตามดีมานด์ทองคำที่คับคั่งในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางได้ซื้อทองคำจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในครึ่งปีแรกที่ 387 ตัน และอุปสงค์รายไตรมาสเป็นไปตามแนวโน้มเชิงบวกในระยะยาว ซึ่งบ่งชี้ว่าการซื้อในหน่วยงานภาครัฐ ธนาคารกลาง และองค์กรต่างประเทศ (Official sector buying) จะแข็งแกร่งไปตลอดทั้งปี
ในด้านของการลงทุนในทองคำ ดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็น 277 ตัน ในไตรมาสที่ 2 และจบรวมที่ 582 ตัน ในครึ่งปีแรก จากการเติบโตของตลาดสำคัญ อันรวมไปถึงสหรัฐอเมริกาและตุรกี อีกทั้งการไหลออกของเงินทุนในกองทุน ETF ทองคำ ซึ่งอยู่ที่ 21 ตันในไตรมาสที่ 2 น้อยกว่าในไตรมาสเดียวกันของปี 2565 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอยู่ที่ 47 ตัน ทำให้การไหลออกสุทธิอยู่ที่ 50 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี
ด้านการบริโภคเครื่องประดับยังคงฟื้นตัวแม้เผชิญกับราคาที่สูง โดยเพิ่มขึ้น 3% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมียอดรวมครึ่งปีแรกที่ 951 ตัน การฟื้นตัวของดีมานด์ในประเทศจีน และการซื้อของผู้บริโภคในตุรกีที่แข็งแกร่งอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วยหนุนการบริโภคในไตรมาสที่ 2
โดยสรุป ดีมานด์ทองคำรวมทั่วโลกสูงขึ้น 7% มาอยู่ที่ 1,255 ตัน ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าการผลิตจากเหมืองแร่จะทุบสถิติสูงสุดสำหรับครึ่งปีแรกที่ 1,781 ตัน
Ms. Louise Street นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ความต้องการที่สูงเป็นประวัติการณ์ของธนาคารกลางมีอิทธิพลต่อตลาดทองคำในช่วงปีที่ผ่านมา แม้จะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 แต่แนวโน้มนี้ขีดเส้นใต้ความสำคัญของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างต่อเนื่องทั่วโลก”
“เมื่อพิจารณาช่วงครึ่งหลังของปี 2566 การหดตัวทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดการดีดตัวของทองคำเพิ่มเติม ถือเป็นการเน้นย้ำบทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยขึ้นอีกขั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ ทองคำได้รับแรงหนุนจากความต้องการของนักลงทุนและธนาคารกลาง ซึ่งมาช่วยชดเชยความต้องการที่ลดลงสำหรับเครื่องประดับและเทคโนโลยีจากการประหยัดของผู้บริโภค”
อ่านรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 รวมถึงข้อมูลที่มีความครอบคลุมจาก Metals Focus ได้ที่นี่
สภาทองคำโลกฉลองครบรอบ 30 ปี ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายงาน Gold Demand Trends อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
ความต้องการทองคำทั่วโลก (ไม่รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) ลดลง 2% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 921 ตัน ในช่วงไตรมาสที่ 2 แม้ว่าดีมานด์โดยรวม (รวมการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์) จะเพิ่มขึ้น 7% เมื่อเทียบเป็นรายปี ซึ่งสะท้อนถึงตลาดทองคำที่แข็งแกร่งทั่วโลก
ในประเทศไทย ดีมานด์ทองคำของผู้บริโภคลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี อยู่ที่ 7.6 ตัน จาก 8.5 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 การตกลงมานี้เป็นผลจากความต้องการเครื่องประดับที่ลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 1.7 ตัน จาก 1.9 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565 และดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำโดยรวมลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี มาอยู่ที่ 5.9 ตัน จาก 6.6 ตัน ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2565
Mr. Shaokai Fan หัวหน้าภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) และหัวหน้าฝ่ายธนาคารกลางระดับโลกของสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ราคาทองคำที่สูง การฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ผันผวนรวมถึงความไม่แน่นอนทางการเมืองในประเทศไทยเป็นเหตุที่ส่งผลให้ดีมานด์ในไตรมาสที่ 2 ลดลง 10% เมื่อเทียบเป็นรายปี รวมทั้งควมต้องการซื้อเครื่องประดับทองคำลดลงเหลือน้อยกว่า 2 ตัน เนื่องจากผู้บริโภคเลือกขายคืนเครื่องประดับทองคำมากกว่าซื้อใหม่”
เมื่อพิจารณาสถานการณ์ทั่วโลก ความต้องการของธนาคารกลางในไตรมาศที่ 2 ลดลงมาอยู่ที่ 103 ตัน เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยมีแรงหนุนหลักจากยอดขายสุทธิในตุรกีตามดีมานด์ทองคำที่คับคั่งในประเทศ อย่างไรก็ตาม ธนาคารกลางได้ซื้อทองคำจำนวนสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในครึ่งปีแรกที่ 387 ตัน และอุปสงค์รายไตรมาสเป็นไปตามแนวโน้มเชิงบวกในระยะยาว ซึ่งบ่งชี้ว่าการซื้อในหน่วยงานภาครัฐ ธนาคารกลาง และองค์กรต่างประเทศ (Official sector buying) จะแข็งแกร่งไปตลอดทั้งปี
ในด้านของการลงทุนในทองคำ ดีมานด์ทองคำแท่งและเหรียญทองคำทั่วโลกเพิ่มขึ้น 6% เมื่อเทียบเป็นรายปี เป็น 277 ตัน ในไตรมาสที่ 2 และจบรวมที่ 582 ตัน ในครึ่งปีแรก จากการเติบโตของตลาดสำคัญ อันรวมไปถึงสหรัฐอเมริกาและตุรกี อีกทั้งการไหลออกของเงินทุนในกองทุน ETF ทองคำ ซึ่งอยู่ที่ 21 ตันในไตรมาสที่ 2 น้อยกว่าในไตรมาสเดียวกันของปี 2565 อย่างเห็นได้ชัด ซึ่งอยู่ที่ 47 ตัน ทำให้การไหลออกสุทธิอยู่ที่ 50 ตันในช่วงครึ่งแรกของปี
ด้านการบริโภคเครื่องประดับยังคงฟื้นตัวแม้เผชิญกับราคาที่สูง โดยเพิ่มขึ้น 3% ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา และมียอดรวมครึ่งปีแรกที่ 951 ตัน การฟื้นตัวของดีมานด์ในประเทศจีน และการซื้อของผู้บริโภคในตุรกีที่แข็งแกร่งอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งช่วยหนุนการบริโภคในไตรมาสที่ 2
โดยสรุป ดีมานด์ทองคำรวมทั่วโลกสูงขึ้น 7% มาอยู่ที่ 1,255 ตัน ในไตรมาสที่ 2 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าการผลิตจากเหมืองแร่จะทุบสถิติสูงสุดสำหรับครึ่งปีแรกที่ 1,781 ตัน
Ms. Louise Street นักวิเคราะห์การตลาดอาวุโสประจำสภาทองคำโลก กล่าวว่า “ความต้องการที่สูงเป็นประวัติการณ์ของธนาคารกลางมีอิทธิพลต่อตลาดทองคำในช่วงปีที่ผ่านมา แม้จะชะลอตัวลงในไตรมาสที่ 2 แต่แนวโน้มนี้ขีดเส้นใต้ความสำคัญของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยท่ามกลางความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และสภาวะเศรษฐกิจที่ท้าทายอย่างต่อเนื่องทั่วโลก”
“เมื่อพิจารณาช่วงครึ่งหลังของปี 2566 การหดตัวทางเศรษฐกิจอาจทำให้เกิดการดีดตัวของทองคำเพิ่มเติม ถือเป็นการเน้นย้ำบทบาทของทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัยขึ้นอีกขั้น ในสถานการณ์เช่นนี้ ทองคำได้รับแรงหนุนจากความต้องการของนักลงทุนและธนาคารกลาง ซึ่งมาช่วยชดเชยความต้องการที่ลดลงสำหรับเครื่องประดับและเทคโนโลยีจากการประหยัดของผู้บริโภค”
อ่านรายงาน Gold Demand Trends ไตรมาสที่ 2 ปี 2566 รวมถึงข้อมูลที่มีความครอบคลุมจาก Metals Focus ได้ที่นี่
สภาทองคำโลกฉลองครบรอบ 30 ปี ในการเป็นผู้รวบรวมข้อมูลรายงาน Gold Demand Trends อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่นี่
No comments