Header Ads

ศูนย์ HTAPC ภายใต้ วช. ระดมความคิด เตรียมรับมือ ฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม”

 .com/img/a/



วันที่ 14 ธันวาคม 2566 ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ (Hub of Talents on Air Pollution and Climate – HTAPC) ภายใต้สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุมสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด และ รองศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กล่าวต้อนรับ พร้อมด้วย ดร.สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ ผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญ ร่วมประชุมเสวนา ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ ฟิวเจอร์ปาร์ครังสิต จังหวัดปทุมธานี


.com/img/a/


ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้สนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรมด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในกลุ่มเรื่อง Haze Free Thailand และ ปัญหาฝุ่น PM2.5 มาอย่างต่อเนื่อง และได้ตระหนักถึงสถานการณ์ดังกล่าว จึงร่วมกันจัดการประชุมเสวนาในครั้งนี้ขึ้น เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ผลงานวิจัยและนวัตกรรมในประเด็นผลกระทบด้านสุขภาพและการรับมือกับ


.com/img/a/

ปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 และในปี 2566 วช. จึงริเริ่มพัฒนาเป็นศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ มี ดร.สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนา เป็นผู้อำนวยการศูนย์ฯ โดยศูนย์มีบทบาทหน้าที่ในการเชื่อมโยงและสร้างเครือข่ายของผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศในระดับประเทศและในระดับนานาชาติ ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในศาสตร์และวิทยาการสาขาต่าง ๆ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ และประสบการณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศและการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศทั้งในระดับประเทศ ระดับภูมิภาค และระดับนานาชาติ โดยไม่ได้อยู่ภายใต้สังกัดของสถาบันการศึกษาใดสถาบันหนึ่ง เพื่อให้ศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญฯ ได้รับความร่วมมือจากหลากหลายสถาบันอย่างแท้จริง


.com/img/a/

.com/img/a/


รองศาสตราจารย์ ดร.สสิธร เทพตระการพร คณบดีคณะสาธารณสุขศาสตร์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เผชิญกับปัญหามลพิษอากาศที่ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชน โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 ในช่วงปลายปีถึงต้นปี ที่ส่งผลกระทบสำคัญต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ระบบหลอดเลือดสมอง และเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอดในระยะยาว จากข้อมูลของกรมควบคุมมลพิษ พบว่า กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล เป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นละออง PM2.5 เกินค่ามาตรฐานที่กำหนด โดยจำนวนวันที่คุณภาพอากาศเกินค่ามาตรฐานเท่ากับ 68 วัน อ้างอิงจาก ปี พ.ศ. 2565 ถึงแม้ว่าภาพรวมของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM2.5 ในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล มีแนวโน้มลดลงก็ตาม แต่ก็ยังมีปัญหาค่าความเข้มข้นเฉลี่ยรายวันที่เกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศโดยทั่วไปของประเทศไทย ในช่วงฤดูหนาว ระหว่างเดือนธันวาคม - เดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปี เนื่องจากปริมาณการระบายฝุ่นละออง PM2.5 จากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ สูง ประกอบกับสภาพอุตุนิยมวิทยาไม่เอื้อต่อการกระจายตัวกรองฝุ่นละออง PM2.5 จึงทำให้เกิดการสะสมของฝุ่นละออง PM2.5 ในอากาศพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล


.com/img/a/

ด้าน ดร.สุพัฒน์ หวังวงค์วัฒนา ผู้อำนวยการศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญด้านมลพิษอากาศและภูมิอากาศ กล่าวว่า การสัมมนาวิชาการระดับชาติ เรื่อง “ไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ PM2.5 ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ด้วยวิจัยและนวัตกรรม” จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญของศูนย์รวมผู้เชี่ยวชาญ นำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาวิจัยต่าง ๆ ที่ผ่านมาในเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับฝุ่นละออง PM2.5 มาไขข้อข้องใจในสิ่งที่ไม่เข้าใจในด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ให้กับนักวิชาการและประชาชนทั่วไปให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่ประสบความสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ


.com/img/a/


ทั้งนี้ นายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ สมาชิกวุฒิสภา และอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ได้เข้าร่วมรับฟังสัมมนาวิชาการระดับชาติ และได้กล่าวถึงการติดตามเรื่องฝุ่นละลอง PM2.5 ว่าปัญหาคุณภาพอากาศของประเทศไทย เป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งการแก้ไขปัญหาของแต่ละพื้นที่ไม่เหมือนกัน จากที่ได้ไปร่วมประชุม ณ จังหวัดเชียงใหม่เมื่อสัปดาห์ผ่านมา พบว่าเรื่องฝุ่นจากการเผาป่าและคุณภาพอากาศ ถือเป็นเรื่องสำคัญ จากที่เคยให้ความสำคัญเฉพาะเด็ก ผู้สูงวัย และผู้ป่วยโรคปอด แต่ปัจจุบันส่งผลกระทบไปหลายช่วงวัย จึงควรผลักดันเป็นนโยบายสาธารณะ และต้องใช้ฐานความรู้ที่ถูกต้อง โดยนักวิจัยต้องทำงานสอดรับกับภาคประชาชนให้ไปในทิศทางเดียวกัน จะทำให้การสื่อสารสามารถขับเคลื่อนไปได้ และสุดท้ายบทบาทของรัฐต้องออกนโยบายที่ถูกต้อง เช่น การเผาในที่โล่ง การเผาฟาง เป็นสิ่งที่ไม่กล่าวถึง เพราะส่วนใหญ่กล่าวถึงเพียงการเผาป่า แต่จริง ๆ แล้ว การเผาฟางเป็นเรื่องใหญ่ ถ้าเทียบกับสัดส่วนของประเทศ หากยังไม่มีเครื่องมือ


.com/img/a/
ทางเศรษฐศาสตร์ที่ดี ที่จะทำให้ผู้เผาฟางได้รับประโยชน์ที่คุ้มค่าเพียงพอ การห้ามจะไม่ได้เกิดผล ดังนั้นการสัมมนาในวันนี้ถือว่าเป็นเรื่องดี ที่จะนำผลงานวิจัยเข้ามาช่วยพัฒนา


.com/img/a/


การสัมมนามีหัวข้อที่น่าสนใจ ดังนี้ ข้อข้องใจที่ 1 : แหล่งกำเนิดและที่มาของฝุ่นละออง PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล คืออะไร อยู่ที่ไหน ? ข้อข้องใจที่ 2 : จะจัดการกับปัญหาการเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรในที่โล่งแจ้ง พื้นที่กรุงเทพมหานคร ปริมณฑล ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนืออย่างไรดี ข้อข้องใจที่ 3 : จะจัดการฝุ่นละออง PM2.5 จากภาคการขนส่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อย่างไรดี และ ข้อข้องใจที่ 4 : เชื่อได้หรือไม่กับการตรวจวัดคุณภาพอากาศ การพยากรณ์คุณภาพอากาศ การแปลผล และการนำเสนอข้อมูล


.com/img/a/

.com/img/a/

.com/img/a/


ข้อมูลที่ได้ร่วมกันสัมมนาในครั้งนี้ วช. จะนำไปเสนอเป็นแนวทางการเตรียมรับมือด้านสุขภาพจากฝุ่น PM2.5 ด้วยวิจัยและนวัตกรรม เพื่อเป็นข้อมูลแก่ประชาชนในการเฝ้าระวังการเผชิญเหตุเมื่อปริมาณฝุ่น PM2.5 สูงขึ้น รวมถึงมาตรการที่เหมาะสมในการจัดการฝุ่น PM2.5 อันจะนำไปสู่การแก้ไขปัญหาที่ตรงจุดและเสริมสร้างคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อมที่อย่างยั่งยืน


.com/img/a/

No comments

Powered by Blogger.