วช. ร่วมกับ รร.นายร้อยตำรวจ ขับเคลื่อนประเทศไทยปราบปรามการทุจริต ด้วยนวัตกรรมล้ำสมัย “Eagle Eyes Thailand และ e-Service Center”
วันที่ 27 มีนาคม 2567 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ จัดประชุมเผยแพร่ผลการดำเนินแผนงานวิจัยการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ณ ห้องแมกโนเลีย โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนต์ คอนเวนชั่น
ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมกล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “คอร์รัปชันในไทย แก้อย่างไรให้ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือค่า CPI เพิ่ม” และมี พล.ต.ท.ดร.เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้บริหารจัดการแผนงาน กล่าวรายงาน โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวนโยบายสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกับการขับเคลื่อนงานวิจัย ผ่านระบบ zoom meeting
ดร.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “คอร์รัปชันในไทย แก้อย่างไรให้ค่า CPI เพิ่ม” โดยให้ข้อมูลว่า การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ จะทำให้ประชาชนสามารถรับรู้การดำเนินการ ขั้นตอนและการใช้งบประมาณ ของภาครัฐ ซึ่งการมีข้อมูลที่ภาครัฐจริงใจในการเปิดเผยอย่างครบถ้วน จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และสามารถช่วยเพิ่มคะแนน CPI ของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
พล.ต.ท.ดร. เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุมเผยแพร่ผลการดำเนินแผนงานวิจัยการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ซึ่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จาก วช. ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยจำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนงานเพื่อทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์ การสำรวจการรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการรขับเคลื่อนการยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยอันจะนำไปสู่การผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการยกระดับคะแนน CPI ของประเทศไทยที่เป็นไปตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในฐานะผู้บริหารจัดการโครงการวิจัยกล่าวว่า แม้หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีความพยายามในการยกระดับค่า CPI ผ่านมาตรการเชิงบวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ผลที่ได้รับยังไม่สามารถสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของดัชนีการรับรู้การทุจริตให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางได้ แผนงานวิจัยดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการทบทวนนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างนวัตกรรมต้นแบบเพื่อเป็นกลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังและต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสนอมาตรการที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับค่า CPI ได้ในเชิงรูปธรรมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยมีโครงการย่อยภายใต้แผนงาน จำนวน 3 โครงการ และมีผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่
1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การยกระดับค่า CPI ใน 5 ด้าน 16 นโยบาย การเปิดเผยข้อมูลการเงินการคลังประเภทเงินทุนหมุนเวียน เงินกองทุน เงินนอกงบประมาณ การแก้ปัญหาสินบนโดยประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 37001
2) ระบบ Eagle Eyes Thailand (https://eagleeyesthailand.com) เป็นช่องทางการแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนการทุจริตสำหรับประชาชน
3) ระบบ e-Service Center (https://e-servicethai.com) เป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อลดการให้หรือรับสินบนในกระบวนการติดต่อหรือขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการรวบรวมระบบ e-Service การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐกว่า 100 กระบวนงาน
นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ ได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน และด้านนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์สำคัญในการสร้างกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศ ทั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยการเผยแพร่ผลการดำเนินแผนงานการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ซึ่งมี ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ เป็นหัวหน้าแผนงาน เพื่อสำรวจการรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ และนำมาสร้างเครื่องมือและกลไกสำคัญในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ อันจะเป็นผลดีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน
ถัดมา เป็นการเสวนา ในหัวข้อ เรื่อง “การพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ต.ท. วิชิต อาษากิจ อาจารย์ (สบ 2) คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ พ.ต.ต.ดร.ปริญญา สีลานันท์ อาจารย์ (สบ 2) คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำเนินรายการโดย ดร.ชนิดา อาคมวัฒนะ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบและวิชาการ สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช. มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการเสวนาดังกล่าว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า งานวิจัยด้านแผนงานวิจัยการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต การปรับปรุงกระบวนการปราบปรามการทุจริตที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และส่งผลให้ไทยมุ่งไปสู่เป้าหมายการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตในอันดับที่ดีขึ้นต่อไป
ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา เข้าร่วมกล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “คอร์รัปชันในไทย แก้อย่างไรให้ค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต หรือค่า CPI เพิ่ม” และมี พล.ต.ท.ดร.เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และ ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ผู้บริหารจัดการแผนงาน กล่าวรายงาน โดย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวนโยบายสำนักงานการวิจัยแห่งชาติกับการขับเคลื่อนงานวิจัย ผ่านระบบ zoom meeting
ดร.ดาวน้อย สุทธินิภาพันธ์ สมาชิกวุฒิสภา ได้กล่าวบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “คอร์รัปชันในไทย แก้อย่างไรให้ค่า CPI เพิ่ม” โดยให้ข้อมูลว่า การเปิดเผยข้อมูลภาครัฐ จะทำให้ประชาชนสามารถรับรู้การดำเนินการ ขั้นตอนและการใช้งบประมาณ ของภาครัฐ ซึ่งการมีข้อมูลที่ภาครัฐจริงใจในการเปิดเผยอย่างครบถ้วน จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชน และเป็นแนวทางสำคัญที่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และสามารถช่วยเพิ่มคะแนน CPI ของประเทศได้อย่างเป็นรูปธรรม
พล.ต.ท.ดร. เสนิต สำราญสำรวจกิจ ผู้บัญชาการโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ได้กล่าวถึงความสำคัญของการประชุมเผยแพร่ผลการดำเนินแผนงานวิจัยการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ซึ่งโรงเรียนนายร้อยตำรวจได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 จาก วช. ซึ่งมีโครงการวิจัยย่อยจำนวนทั้งสิ้น 3 โครงการ โดยมีวัตถุประสงค์ของแผนงานเพื่อทบทวนนโยบายและยุทธศาสตร์ การสำรวจการรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ การสร้างนวัตกรรมต้นแบบ และจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์ ในการรขับเคลื่อนการยกระดับค่าดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทยอันจะนำไปสู่การผลักดันและขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการยกระดับคะแนน CPI ของประเทศไทยที่เป็นไปตามตัวชี้วัดและค่าเป้าหมายในแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ
ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ในฐานะผู้บริหารจัดการโครงการวิจัยกล่าวว่า แม้หลายปีที่ผ่านมาประเทศไทยจะมีความพยายามในการยกระดับค่า CPI ผ่านมาตรการเชิงบวกต่างๆ อย่างต่อเนื่อง แต่ผลที่ได้รับยังไม่สามารถสร้างการรับรู้และความตระหนักถึงความสำคัญของดัชนีการรับรู้การทุจริตให้เป็นที่รับรู้อย่างกว้างขวางได้ แผนงานวิจัยดังกล่าวนี้ จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อการทบทวนนโยบายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างนวัตกรรมต้นแบบเพื่อเป็นกลไกเชิงรุกในการเฝ้าระวังและต่อต้านการทุจริตที่มีประสิทธิภาพ รวมถึงการเสนอมาตรการที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการยกระดับค่า CPI ได้ในเชิงรูปธรรมทั้งในระดับนโยบายและระดับปฏิบัติการ โดยมีโครงการย่อยภายใต้แผนงาน จำนวน 3 โครงการ และมีผลผลิตที่สำคัญ ได้แก่
1) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายและยุทธศาสตร์การยกระดับค่า CPI ใน 5 ด้าน 16 นโยบาย การเปิดเผยข้อมูลการเงินการคลังประเภทเงินทุนหมุนเวียน เงินกองทุน เงินนอกงบประมาณ การแก้ปัญหาสินบนโดยประยุกต์ใช้มาตรฐาน ISO 37001
2) ระบบ Eagle Eyes Thailand (https://eagleeyesthailand.com) เป็นช่องทางการแจ้งเบาะแสและเรื่องร้องเรียนการทุจริตสำหรับประชาชน
3) ระบบ e-Service Center (https://e-servicethai.com) เป็นต้นแบบนวัตกรรมเพื่อลดการให้หรือรับสินบนในกระบวนการติดต่อหรือขอรับบริการจากหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการรวบรวมระบบ e-Service การให้บริการของหน่วยงานภาครัฐกว่า 100 กระบวนงาน
นางสาวสตตกมล เกียรติพานิช ผู้อำนวยการกองบริหารทุนวิจัยและนวัตกรรม 2 กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม ของประเทศ ได้ให้ความสำคัญในการสนับสนุนทุนวิจัยและนวัตกรรม ที่มุ่งเน้นให้เกิดผลสำเร็จที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในมิติต่าง ๆ ทั้งมิติด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคมและชุมชน และด้านนโยบายเพื่อให้เกิดประโยชน์สำคัญในการสร้างกลไกในการพัฒนาและแก้ปัญหาเร่งด่วนสำคัญของประเทศ ทั้งนี้ ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันถือเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญที่ต้องเร่งแก้ไข เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่นานาประเทศ ทั้งนี้ วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยการเผยแพร่ผลการดำเนินแผนงานการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย ซึ่งมี ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ เป็นหัวหน้าแผนงาน เพื่อสำรวจการรับรู้การมีส่วนร่วมของภาคประชาชนและภาคธุรกิจ และนำมาสร้างเครื่องมือและกลไกสำคัญในการส่งเสริมและป้องกันปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันของประเทศไทยในสายตาของนานาชาติ อันจะเป็นผลดีต่อการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคมต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน
ถัดมา เป็นการเสวนา ในหัวข้อ เรื่อง “การพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย” โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.พ.ต.อ.ดร.ธิติ มหาเจริญ รองคณบดีคณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ พ.ต.ท. วิชิต อาษากิจ อาจารย์ (สบ 2) คณะตำรวจศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ และ พ.ต.ต.ดร.ปริญญา สีลานันท์ อาจารย์ (สบ 2) คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ ดำเนินรายการโดย ดร.ชนิดา อาคมวัฒนะ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาระบบและวิชาการ สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงาน ป.ป.ช. มาร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ในการเสวนาดังกล่าว
ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า งานวิจัยด้านแผนงานวิจัยการพัฒนานโยบายและต้นแบบการยกระดับค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริตของประเทศไทย จะนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงานของกระบวนการและกลไกการปราบปรามการทุจริต การปรับปรุงกระบวนการปราบปรามการทุจริตที่มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านการปราบปรามการทุจริต โดยมีเป้าหมายเพื่อให้การดำเนินคดีทุจริตมีความรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใส ไม่เลือกปฏิบัติ และส่งผลให้ไทยมุ่งไปสู่เป้าหมายการยกระดับดัชนีการรับรู้การทุจริตในอันดับที่ดีขึ้นต่อไป
No comments