Header Ads

วช. เชิดชู “วิน สุรเชษฐพงษ์” นักวิจัย ม.เกษตร เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ปี 67 ผู้ศึกษาและพัฒนาเทคโนโลยีจัดการโรคไวรัสอุบัติใหม่ในฟาร์มปลานิลและปลานิลแดง

 .com/img/a/


.com/img/a/

สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) จัดงาน NRCT Talk : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติประจำปี 2567 ครั้งที่ 2 เปิดตัวนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2567 รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ศึกษาและสร้างองค์ความรู้และเทคโนโลยีเพื่อจัดการโรคไวรัสอุบัติใหม่ในฟาร์มปลานิลและปลานิลแดง โดยมี ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดงานฯ

.com/img/a/


ดร.วิภารัตน์ กล่าวว่า วช. จัดกิจกรรม “NRCT Talk นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567 ครั้งที่ 2”เพื่อเชิดชูเกียรตินักวิจัยไทยที่มีผลงานโดดเด่น สร้างคุณูปการให้กับวงวิชาการและประเทศชาติ รวมทั้งเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการสร้างแรงจูงใจของนักประดิษฐ์ และนักวิจัยในอันที่จะพัฒนานวัตกรรมทางความคิด


.com/img/a/

และภูมิปัญญาที่เป็นประโยชน์ สร้างความก้าวหน้าในศาสตร์แขนงต่าง ๆ โดยในปีนี้ วช. ได้มอบรางวัลให้กับ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ แห่ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นนักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา ประจำปี 2567 ซึ่งรองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ ได้อุทิศตนเพื่องานวิจัยอย่างต่อเนื่อง มีผลงานศึกษาวิจัยเรื่อง “โรคไวรัสอุบัติใหม่ในปลานิลและปลานิลแดง” เช่น โรคไวรัสทิลาเปียเลค ผลการศึกษาวิจัยครอบคลุมตั้งแต่การค้นพบเชื้อไวรัสในฟาร์มปลานิลในประเทศไทย การศึกษากลไกและปัจจัยการก่อโรคของเชื้อไวรัส การศึกษาวิธีควบคุมป้องกันโรคภายในฟาร์ม รวมถึงการพัฒนาวัคซีนและวิธีทดสอบโรค องค์ความรู้และเทคโนโลยีได้ถูกถ่ายทอดไปสู่เกษตรกรเพื่อแก้ไขปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสภายในฟาร์มปลานิลและปลานิลแดง ผลงานวิจัยได้รับการยอมรับในวงวิชาการทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น การได้รับเกียรติให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ และที่ปรึกษาให้กับองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) เป็นต้น

.com/img/a/


รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร.วิน สุรเชษฐพงษ์ กล่าวว่า ปลานิล เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญอันดับ 1 ของประเทศไทย ซึ่งเป็นปลาพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ให้กับพสกนิกรชาวไทยกว่า 50 ปี ที่มีการเลี้ยงปลาในหลายพื้นที่ของประเทศไทย มีเกษตรกรที่เลี้ยงหลายครอบครัว ปัญหาที่ลงไปศึกษาในช่วง 10 ที่ผ่านมา พบว่า เกษตรกรเจอปัญหาปลาตายในช่วงที่หนึ่งเดือนแรก จึงได้ทำการศึกษาและค้นคว้าหาข้อมูลการระบาด และนำตัวอย่างปลาป่วย กลับมาที่ห้องปฏิบัติการเพื่อศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ประกอบกัน ทำให้ทราบว่ากำลังเจอกับโรคไวรัสชนิดใหม่ ขณะนั้นยังไม่มีรายงานในประเทศไทย เมื่อค้นพบเป็นเชื้อไวรัสชนิดใหม่ จึงได้เริ่มศึกษาและแยกตัวไวรัสออกมา และได้ศึกษาในแง่มุมต่าง ๆ เช่นการพัฒนาการตรวจสอบโรค การศึกษากลไลการก่อโรคของเชื้อไวรัสในปลา รวมถึงศึกษาตัวเชื้อไวรัสว่ามีลักษณะสารพันธุกรรมเป็นอย่างไร ส่วนการใช้วัคซีน ทีมวิจัยได้พัฒนาวัคซีนหลายแบบ อาทิ แบบแช่ เพื่อที่จะทำให้ปลาเกิดภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ยังได้มีการศึกษาการตอบสนองภูมิคุ้มกันในปลาที่ได้รับเชื้อไวรัสและปลาที่ได้รับวัคซีน ซึ่งได้ทำการวิจัยมาอย่างต่อเนื่อง

.com/img/a/



.com/img/a/


อีกมุมหนึ่ง คือเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ที่ได้จากในห้องทดลอง ได้นำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกร มีการทำงานอย่างใกล้ชิดกับฟาร์มเพาะพันธุ์ลูกปลา รวมถึงเกษตรกรที่เลี้ยงปลา และบริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้อง องค์ความรู้ที่ได้ศึกษาในประเทศไทย ได้ถูกถ่ายทอดไปสู่องค์กรระหว่างประเทศ


.com/img/a/


ที่เลี้ยงปลานิลในหลายประเทศ เนื่องจากปลานิลเป็นปลาเศรษฐกิจที่เลี้ยงอันดับต้น ๆ ของโลก และในหลายประเทศก็เจอปัญหาการระบาดของเชื้อไวรัสอย่างกว้างขว้าง ปัจจุบันโรคไวรัสอุบัติใหม่บรรจุเป็นไวรัสที่ต้องมีการเฝ้าระวังและควบคุมโดยองค์กรสุขภาพสัตว์โลก


.com/img/a/



ผลงานวิจัย “โรคไวรัสอุบัติใหม่ในปลานิลและปลานิลแดง” เป็นตัวอย่างงานวิจัยที่มีเป้าหมายชัดเจน แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของนักวิจัยไทยในระดับสากล ทั้งการมีความคิดริเริ่ม และเป็นผู้นำในหัวข้อที่ศึกษาวิจัย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นงานวิจัยใหม่ ที่ยังไม่มีการศึกษามาก่อน จนนำไปสู่การกำหนดแนวทางควบคุมโรค และการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง ซึ่งการศึกษาวิจัยมีการเชื่อมโยงระหว่างผลปฏิบัติการ และการใช้ประโยชน์ในภาคสนาม ในฟาร์มเกษตรกร รวมถึงได้มีการขยายผลไปสู่การใช้ประโยชน์ ในเชิงวิชาการ และการปฏิบัติในภาคสนามกับเกษตรกร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในระดับองค์กรภายในประเทศ และต่างประเทศ ได้รับการยอมรับอย่างขว้างกว้างในวงวิชาการด้านโรคไวรัสอุบัติใหม่ และอุบัติซ้ำในสัตว์น้ำ


.com/img/a/

.com/img/a/




ทั้งนี้สำหรับกิจกรรม “NRCT Talk : นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ ประจำปี 2567” ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีให้นักวิจัยได้นำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมผ่านสื่อมวลชน ตลอดจนการผลิตและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัย ผลงานประดิษฐ์คิดค้น กิจกรรม ภารกิจ และผลการดำเนินงาน ของ วช. เพื่อให้สื่อมวลชนเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานและกิจกรรมของ วช. ไปสู่ชุมชนและสาธารณชนเพื่อให้ได้ทราบและนำไปสู่การใช้ประโยชน์ต่อไป

No comments

Powered by Blogger.