Header Ads

สทนช. เสนอร่างผลการศึกษาผังน้ำลุ่มน้ำปิง ให้ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนพิจารณาให้ความคิดเห็น ก่อน ชง กนช. เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ แล้วประกาศในราชกิจจานุเบกษา








เช้าวันนี้ (8 ก.ย. 2566) นายธรรมพงศ์ เนาวบุตร รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยภายหลังการประชุมผังน้ำ ครั้งที่ 4 (ปัจฉิมนิเทศ) พื้นที่ลุ่มน้ำปิง เวทีที่ 2 โครงการจัดทำผังน้ำ ลุ่มน้ำปิง วัง ยม น่าน ณ โรงแรมชากังราวริเวอร์วิว จ.กำแพงเพชร เพื่อนำเสนอร่างผลการศึกษาโครงการ และให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้ตรวจสอบความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ก่อนนำเสนอ กนช. ได้พิจารณาและให้ความเห็นชอบ แล้วให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเพื่อทราบโดยทั่วกัน โดยได้รับเกียรติจากนายบุญช่วย หอมยามเย็น รองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดการประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย กรรมการลุ่มน้ำ หน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนที่เกี่ยวข้อง ราว 120 คน\




ผู้แทนสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ กล่าวว่าผลการศึกษาผังน้ำ นอกจากแสดงในรูปแผนที่และแผนผังแล้ว

ยังจัดทำเป็นเอกสารและคู่มือเพื่อให้ประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ อาทิเช่น ข้อเสนอแนะการเตรียมความพร้อม

ในด้านการใช้ประโยชน์ที่ดินในระบบทางน้ำของผังน้ำ เพื่อช่วยลดความเสียหายของชีวิตและทรัพย์สินจากภาวะน้ำท่วม ข้อเสนอแนะการใช้ประโยชน์ที่ดินสำหรับหน่วยงานผู้มีอำนาจอนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน คู่มือการบริหารจัดการน้ำท่วม-น้ำแล้ง เป็นต้น ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเกิดเอกภาพและเป็นระบบ โดยผังน้ำลุ่มน้ำปิงมีพื้นที่น้ำหลาก รหัสโซน “ล” ประมาณ 0.78 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำหลากหมายถึง ทางน้ำธรรมชาติหรือที่มนุษย์สร้างขึ้น เพื่อรองรับน้ำหลากหรือน้ำขึ้นและน้ำลง และให้น้ำสามารถระบายหรือไหลผ่านได้ และพื้นที่ริมตลิ่งที่ออกแบบไว้ให้เป็นทางระบายน้ำท่วม รวมทั้งพื้นที่ราบหรือลาดบริเวณริมทางน้ำ ควรใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ทางน้ำหลาก เป็นพื้นที่ชนบทและเกษตรกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร มิให้เกิดการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือกีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ เว้นแต่การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม ส่วนพื้นที่น้ำหลากริมลำน้ำควรมีระยะถอยร่นริมน้ำตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร และพื้นที่น้ำนอง รหัสโซน “น” ประมาณ 0.12 ล้านไร่ ซึ่งพื้นที่น้ำนองหมายถึงพื้นที่ที่มีน้ำท่วมขังเป็นประจำในฤดูน้ำหลากหรือพื้นที่ที่มีศักยภาพเพื่อใช้เป็นที่ชะลอน้ำ โดยมีอาคารบังคับน้ำสำหรับบริหารจัดการน้ำเข้าออก ควรใช้ประโยชน์ที่ดินเป็นเขตชนบทและเกษตรกรรม และกิจกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับการเกษตร มิให้

เกิดการพัฒนาที่อาจก่อให้เกิดการเบี่ยงเบนทางน้ำหรือกระแสน้ำ หรือ กีดขวางการไหลของน้ำในระบบทางน้ำ เว้นแต่

การใช้ประโยชน์ที่ดินที่กำหนดไว้เป็นเขตชุมชน เขตอุตสาหกรรม และเขตพื้นที่ป้องกันน้ำท่วมตามผังเมืองรวม

“ผังน้ำเป็นข้อมูลให้ประชาชนทราบว่าพื้นที่ของตนอยู่ในจุดเสี่ยงหรือไม่ คณะกรรมการลุ่มน้ำมีข้อมูลประกอบ

ในการจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำท่วม หน่วยงานของรัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีข้อมูลประกอบการพิจารณา



จัดวางโครงการเพื่อการป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง/น้ำท่วม ตลอดจนการอนุมัติ/อนุญาตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ที่จะไม่ก่อให้เกิด

การเบี่ยงเบนหรือกีดขวางการไหลของน้ำ” ผู้แทน สทนช. กล่าวในตอนท้าย

No comments

Powered by Blogger.